ข้ามไปเนื้อหา

เคแอลไอเอ แทรนซิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคแอลไอเอ แทรนซิต
ขบวนเคแอลไอเอ แทรนซิต
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อลำลองERL Laluan KLIA Transit
เจ้าของเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
หมายเลขสาย7 (สีเขียวอมฟ้า)
ที่ตั้งกัวลาลัมเปอร์ - บันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน - ปูตราจายา - ซาลักติงยี - ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์
ปลายทาง
จำนวนสถานี6
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟชานเมือง (รถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน)
ระบบเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ (กัวลาลัมเปอร์) เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
ผู้ดำเนินงานเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
ขบวนรถ4 ขบวน 4 ตู้ เดซิโร ET 425 M Articulated EMU
4 ขบวน 4 ตู้ ซีอาร์อาร์ซีฉางชุน Articulated EMU
ผู้โดยสารต่อวัน17,987 (Third quarter 2018)[1]
ผู้โดยสาร6.443 ล้าน (2017)[1]
ประวัติ
เปิดเมื่อเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ - ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
14 เมษายน 2002; 22 ปีก่อน (2002-04-14)
ส่วนต่อขยายล่าสุดท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ - เคแอลไอเอ 2
1 พฤษภาคม 2014; 10 ปีก่อน (2014-05-01)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง57 กิโลเมตร (35 ไมล์)
ลักษณะทางวิ่งส่วนใหญ่ใต้ดิน
ระดับดิน
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟ25 kV 50 Hz เหนือหัว
ระบบการนำไฟฟ้ามีคนขับ

เคแอลไอเอ แทรนซิต (อังกฤษ: KLIA Transit) เป็นสายรถไฟฟ้าชานเมืองในเขตกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ให้บริการระหว่าง สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลเซ็นทรัล) กับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลไอเอ)[2] รถไฟฟ้าสายนี้ดำเนินการโดยบริษัท เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ จำกัด (อีอาร์แอล) โดยใช้ทางวิ่งร่วมกับรถไฟฟ้าด่วน เคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส รถไฟฟ้าแทรนซิตจอดทุกสถานี ในขณะที่รถไฟฟ้าเอ็กซ์เพรส จะวิ่งแบบรถด่วน ไม่จอดสถานีรายทาง

สายนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งมวลชนในหุบเขากลัง

รายชื่อสถานี

[แก้]

รถไฟฟ้าเคแอลไอเอ แทรนซิต จอดทั้งหมด 6 สถานี ดังต่อไปนี้

ชื่อสถานี ประเภทชานชาลา หมายเหตุ
เคแอลเซ็นทรัล ชานชาลาด้านข้าง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเกอลานาจายา, รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม (สายเซอเริมบัน และสายพอร์ตกลัง), รถไฟระหว่างเมืองของเคทีเอ็ม, เคทีเอ็ม อีทีเอส และมีทางเดินเชื่อมไปยังสถานีรถไฟของเคแอลโมโนเรล
บันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน ชานชาลาด้านข้าง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายศรีเปอตาลิง และรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม (สายเซอเริมบัน)
ไซเบอร์จายา/ปูตราจายา ชานชาลาด้านข้าง
ซาลักติงยี ชานชาลาด้านข้าง
เคแอลไอเอ ชานชาลาเกาะกลาง
เคแอลไอเอ 2 ชานชาลาเกาะกลาง

สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ จะมีชานชาลาด้านข้างสองแห่ง เพื่อให้เชื่อมกับส่วนอื่น ๆ ของสถานีได้อย่างสะดวก ชานชาลารถไฟด่วน สามารถเชื่อมต่อกับสถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองได้ (KL CAT) ส่วนชานชาลารถไฟธรรมดา จะเชื่อมต่อกับโถงอาคารผู้โดยสาร

ณ สถานีเคแอลไอเอ และเคแอลไอเอ 2 ทั้งรถไฟฟ้าด่วน และรถไฟฟ้าธรรมดา ใช้ชานชาลาเกาะกลางเพียงแห่งเดียว โดยรถไฟฟ้าแต่ละประเภท จะเข้าเทียบชานชาลาในรางใดรางหนึ่งเท่านั้น

อุบัติเหตุ

[แก้]

ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2010 เกิดเหตุรถไฟฟ้าชนกันที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ เวลา 21 นาฬิกา 45 นาที มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ 3 ราย[3][4]

ข้อมูลจำเพาะ

[แก้]
  • ระยะทาง 57 กิโลเมตร
  • ระยะเวลาในการเดินทาง 36 นาที
  • ความถี่ขบวนรถ ทุก ๆ 20-30 นาที
  • เวลาที่ให้บริการ
ณ สถานีเคแอลเซ็นทรัล
ขบวนแรก เวลา 5.33 น.
ขบวนสุดท้าย เวลา 0.33 น.
ณ สถานีเคแอลไอเอ
ขบวนแรก เวลา 5.52 น.
ขบวนสุดท้าย เวลา 1.00 น.

ค่าโดยสาร

[แก้]

อัตราค่าโดยสาร แปรผันตรงกับระยะในการเดินทาง อัตราค่าโดยสารระหว่างสถานีเคแอลเซ็นทรัล-เคแอลไอเอ มีราคาเท่ากันกับของเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส คือ 35 ริงกิต นอกจากนี้ยังมีการลดราคาสำหรับผู้สูงอายุอีกด้วย

สถานีรถไฟฟ้าของเคแอลไอเอ แทรนซิต จะไม่มีเคาน์เตอร์เช็กอิน อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารสามารถใช้ตั๋วของเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส เพื่อทำการเช็คอินได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์

นี่คือตารางแสดงอัตราค่าโดยสารเที่ยวเดียว ในปี ค.ศ. 2006

อัตราค่าโดยสาร สำหรับบุคคลทั่วไป
เคแอลเซ็นทรัล บันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน ไซเบอร์จายา/ปูตราจายา ซาลักติงยี เคแอลไอเอ
เคแอลเซ็นทรัล 4.20 ริงกิต 9.50 ริงกิต 12.50 ริงกิต 35.00 ริงกิต
บันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน 4.20 ริงกิต 5.30 ริงกิต 8.30 ริงกิต 26.50 ริงกิต
ไซเบอร์จายา/ปูตราจายา 9.50 ริงกิต 5.30 ริงกิต 3.00 ริงกิต 6.20 ริงกิต
ซาลักติงยี 12.50 ริงกิต 8.30 ริงกิต 3.00 ริงกิต 3.20 ริงกิต
เคแอลไอเอ 35.00 ริงกิต 26.50 ริงกิต 6.20 ริงกิต 3.20 ริงกิต

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานแบบถี่ สามารถใช้บัตรโดยสารรายวัน/รายเดือนได้ บัตรนี้มีชื่อว่า "บัตรท่องเที่ยวเคแอลไอเอ" โดยผู้ที่ถือบัตรนี้ สามารถจ่ายค่าโดยสารในราคาที่น้อยลงได้

ประวัติ

[แก้]

รถไฟฟ้าเคแอลไอเอ แทรนซิต เริ่มให้บริการครั้งแรก วันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2002

สมุดภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Statistic for Rail Transport" (ภาษามาเลย์ และ อังกฤษ). Ministry of Transport, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 12 December 2018.
  2. "Our Services". Express Rail Link Sdn Bhd. สืบค้นเมื่อ 2014-06-12.
  3. "2 ERLs crash at KL Sentral".
  4. "2 ERLs crash at KL Sentral, 3 hurt".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แผนที่เส้นทาง

[แก้]